Header Ads

หากคุณทำการตลาด ต้องเข้าใจอุปสงค์ทางการตลาด ตอนที่ 1


  การตลาด  เป็นงานที่กระตุ้นความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ฺต่างๆ ของบริษัท โดยต้องอาศัยการสร้างสรรค์ ความคิดส่งเสริม การส่งมอบสินค้าให้ตรงกับความต้องการ

   ฉะนั้นการสำรวจทางด้านอุปสงค์ของตลาดสินค้าจึงเป็นสิ่งที่ ต้องทำความเข้าใจหากคุณต้องการทำการตลาดให้ตรงกับความต้องการหรืออุปสงค์ของตลาด

     การที่ไม่รู้ว่า อุปสงค์ของตลาด อุปสงค์ของสินค้าบริการขององค์กรนั้นเป็นแบบไหน ก็เหมือนกับการตลาดแบบตาบอด ทำการตลาดไปทางไหนก็ชนนู่น ชนนี่จับทิศจับทางไม่ได้สักที สุดท้ายผลิตภัณฑ์้ัั้นั้นก็ต้องมีอันหายไปจากตลาด อย่างน่าเศร้า

     ฉะนั้นผมมีคำถามว่า คุณได้รู้ถึงลักษณะของอุปสงค์หรือยัง? หากคุณยังไม่ทราบผมจะบอกคุณให้รู้ดังนี้ และผมรับรองว่าคุณสามารถนำไปใช้กับการตลาดของคุณได้อย่างแน่นอน

 
     1.  อุปสงค์ติดลบ ( Negative Demand )  คือสภาวะที่ตลาด หรือผู้บริโภคไม่ชอบ และไม่ต้องการสินค้านั้นเลย อีกทั้งยังพยายามหลีกเลี่ยงอีกต่างหาก เช่น การทำฟัน  การฉีดยาป้องกันเป็นต้น  ดังนั้นองค์กรต้องมีการวิเคราะห์ว่าเพราะอะไรตลาด ถึงไม่ชอบสินค้านั้นเลย  อาจจะมีการทำ หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่   ตั้งราคาให้ถูกลง  ที่สำคัญต้องเปลี่ยนความเชื่อ และทัศนคติที่ผู้บริโภคมีต่อสินค้านั้น

     2. อุปสงค์ไม่มี ( No Demand )  คือการตลาดที่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย ไม่สนใจในสินค้านั้นๆ ยกตัวอย่างเช่นหลักสูตรการสอนภาษาต่างประเทศ องค์กรต้องหาวิธีการเพื่อเชื่อมโยง ระหว่างประโยชน์ของผลิตภัณฑ์และบริการ กับความต้องการของลูกค้าให้ได้  ยิ่งเสนอแนวทางที่สินค้าสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากเท่าใด อุปสงค์นั้นจึงจะีมีความต้องการขึ้นมาได้

     3. อุปสงค์ซ่อนเร้น ( Latent Demand ) คือ ความต้องการของผู้บริโภคที่ซ้อนเร้นอยู่ภายในจิตใจ  โดยที่ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าในท้องตลาดไม่สามารถตอบสนองความต้องการนี้ได้ เช่นรถที่ใช้พลังงานน้อยๆ มากกว่าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นหน้าที่ของฝ่ายตลาดก็คือ ต้องประเมินขนาด และศํกยภาพตลาดของผู้บริโภคในกลุ่มซ่อนเร้น  และพัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการได้

     4. อุปสงค์ลดลง (Declining Demand )   การตลาดที่เป็นปรากฏการณ์ที่ทุกๆ องค์กรต้องประสบพบเจอ เป็นเรื่องที่ยอดขายของผลิตภัณฑ์หนึ่งๆ ที่ลดลงเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากว่าความต้องการที่ลดลง ต้องมีการวิเคราะห์สาเหตุให้ชัดเจนก่อนทำการตลาด และสามารถทำการกระตุ้นซ่ำได้หรือไม่เพื่อให้สถานะแบรนด์กลับมาเหมือนเดิม อาจจะปรับเปลี่ยนไปสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่  ตอบสนองความต้องการให้มากขึ้น ต้องกระตุ้นความอยากของลูกค้าให้ได้ ยิ่งกระตุ้นได้มาก ผลความพึงพอใจ

>>>>>>> ติดตามประเภทของอุปสงค์ เพิ่มเติมอีกได้ในวันต่อไปครับ


ธวัชชัย สุวรรณสาร
ที่ปรึกษาด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์
081-1689081
kengwealthy@gmail.com




ไม่มีความคิดเห็น