พันธมิตรทางการตลาด กลยุทธ์การตลาดยุคใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม
การตลาดยุคใหม่ เป็นการตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งแนวคิด และวิธีการทำการตลาด ซึ่งบางครั้งต้องมีการร่วมมือกันระหว่างสองธุรกิจ หรือมากกว่านั้น ในการเสริมแรงซึ่งกันและกันทางการตลาด
การตลาดที่มุ่งแต่เน้นการทำประโยชน์ให้กับตนฝ่ายเดียวดูจะเก่าไปแล้ว ล้าสมัยไปแล้วในยุคปัจจุบัน การตลาดยุคใหม่เน้นการผูกความสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดพันธมิตรทางการตลาด อันจะนำมาสู่สายสัมพันธ์ทางการตลาดที่ยั่งยืนต่อไป
ดังนั้นวันนี้ผมจึงนำบทความกลยุทธ์การตลาดยุคใหม่ ก็คือ " พันธมิตรทางการตลาด " ซึ่งจะมีประโยชน์มากสำหรับการทำการตลาดในธุรกิจของคุณ ซึ่งหากคุณนำไปปรับใช้กับการตลาด หรือธุรกิจของคุณ ธุรกิจของคุณจะทรงประสิทธิภาพขึ้นกว่าเดิม หรือธุรกิจที่กำลังประสบปัญหา ลองเปิดใจรับพันธมิตรทางการตลาดดู อาจจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งสำหรับธุรกิจ และการตลาดของคุณก็เป็นได้ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ
พันธมิตรธุรกิจก็คือ ธุรกิจหรือองค์กรที่ไม่ใช่ธุรกิจใดๆ
ที่ยินดีจะร่วมมือร่วมใจกันในการสร้างเสริมธุรกิจด้วยกัน
เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ที่เสริมกันทั้ง
2 ฝ่าย ได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
การมีพันธมิตรทางธุรกิจ
การเสาะแสวงหาและการสร้างพันธมิตรธุรกิจ
จะทำให้ธุรกิจสามารถปรับกลยุทธ์สู่เป้าหมายทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วขึ้น
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ต่างๆ
เหล่านี้
อาจจะเป็นการเพิ่มของยอดขายอย่างรวดเร็ว
การลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเหนือคู่แข่ง
การแทรกเข้าไปในตลาดที่ต้องการได้ง่ายขึ้น
การได้เทคโนโลยีหรือความรู้ความสามารถที่ขาดอยู่มาเสริม
การได้ความรู้หรือการเฉลี่ยประโยชน์จากความรู้ที่เดิมเต็มถูกนำมาใช้ประโยชน์
การนำนวัตกรรมใหม่ๆ
เข้าสู่ตลาด
ฯลฯ
การรวมตัวกันเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ
เช่น
การร่วมกันในการทำโปรโมชั่นหรือการสนับสนุนในการเปิดตัวสินค้าใหม่หรือโครงการทางการตลาด
อาจทำให้เกิดช่องทางใหม่ที่จะนำสินค้าของเราเข้าไปสู่ตลาดที่ยังไม่สามารถเข้าไปถึงได้ โดยตัวอย่างที่เห็นในบ้านเราเช่น การรวมตัวกันระหวางไอศกรีม วอลล์ และ โอรีโอ ออกมาเป็นไอศกรีมวอลล์ผสมโอรีโอ ที่ให้ประสบการณ์แปลกใหม่กับผู้บริโภค สร้างกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพิ่มเข้ามาเพิ่มเติม ซึ่งทั้ง 2 องค์กรก็ได้รับประโยชน์จากการเป็นพันธมิตรในครั้งนี้
ธุรกิจอาจแสวงหาพันธมิตรธุรกิจที่จะมาร่วมสร้างเสริมธุรกิจได้จากแหล่งต่างๆ
ได้
เริ่มตั้งแต่การร่วมเป็นพันธมิตรธุรกิจซัพพลายเออร์หรือผู้ขายสินค้าหรือวัตถุดิบให้กับเรา
การที่สามารถคุยกับซัพพลายเออร์เพื่อให้มาทำธุรกิจในลักษณะร่วมกัน
จะทำให้เราสามารถลดต้นทุนสินค้าหรือวัตถุดิบนั้นๆ
ได้ทันที
เพราะต่างฝ่ายจะได้รับผลประโยชน์ที่เกิดจากการสร้างกำไรได้เพิ่มขึ้นด้วยกัน
หรืออาจเป็นการร่วมมือกันที่จะพัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนการผลิตของเราให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
หรือการลดของเสียให้น้อยลง
ซึ่งก็ล้วนแต่จะนำมาซึ่งต้นทุนการผลิตที่ลดลงและสัดส่วนกำไรที่จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างของการเป็นพันธมิตรร่วมกันระหว่างซัพพลายเออร์กับเจ้าของหรือผู้ผลิตสินค้า
ได้แก่
เจ้าของสื่อสิ่งพิมพ์หรือหนังสือพิมพ์กับโรงงานกระดาษ
ในทางกลับกัน เรายังสามารถสร้างพันธมิตรธุรกิจขึ้นโดยการร่วมเป็นพันธมิตรธุรกิจกับลูกค้าของเรา
การร่วมธุรกิจกับลูกค้าในรูปของพันธมิตรระยะยาวจะทำให้เราสามารถมีแหล่งรองรับสินค้าของเราได้อย่างสม่ำเสมอ
ในระยะเวลายาวนานตามสัญญาที่ตกลงร่วมกับลูกค้าไว้
สิ่งที่จะเกิดตามมาจากการได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับลูกค้าของเราก็คือ
การลดลงของต้นทุนการตลาดหรือต้นทุนการประชาสัมพันธ์ที่ต้องใช้ไปเพื่อดึงดูดลูกค้าไม่ให้เปลี่ยนใจไปใช้สินค้าของคู่แข่ง
ตัวกลางระหว่างเรากับลูกค้า
โดยตรงที่อาจจะร่วมงานกันในรูปแบบของพันธมิตรธุรกิจได้แก่ผู้ที่เป็นเอเย่นต์
ตัวแทนหรือเป็นผู้จัดจำหน่ายของเรานั่นเอง
การที่สามารถร่วมมือร่วมใจกับเอเย่นต์หรือผู้แทนจำหน่ายจะทำให้สินค้าของเรา
สามารถกระจายไปสู่มือของผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวางในระยะเวลาที่รวดเร็วมากกว่าความพยายามของเราที่จะทำการกระจายสินค้าด้วยตัวเองหลายสิบเท่าตัว
การเป็นคู่ค้าในรูปของพันธมิตรธุรกิจของค่ายรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์กับเอเย่นต์
เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ในบ้านเรา
การร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกับคู่แข่งก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ
ในสภาพแวดล้อมของการแข่งขันทางการค้าอย่างรุนแรงเฉกเช่นในปัจจุบันนี้
การรวมกันของคู่แข่ง
อาจทำให้เกิดการขยายตัวของส่วนแบ่งตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงในลักษณะของหนึ่งบวกหนึ่ง
เท่ากับ
สาม
หรืออาจเป็น
สี่
ห้า
หกหรือเจ็ด
ก็เป็นได้
การเป็นพันธมิตรกับองค์กรไม่แสวงหากำไร
เช่น
สถาบันการศึกษา
มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานวิจัยต่างๆ
อาจทำให้เราสามารถเข้าถึงผลงานวิจัยหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ
ได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าการต้องใช้เงินทุนไปซื้อเทคโนโลยีมาโดยตรง
หน่วยงานราชการหลายต่อหลายแห่งในปัจจุบัน
เปิดกว้างให้กับธุรกิจ
เพื่อเข้ามาร่วมโครงการต่างๆ
ที่จะช่วยพัฒนาธุรกิจให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันหรือทำให้ธุรกิจแข็งแกร่งขึ้นได้ในด้านการบริหารและจัดการธุรกิจ
นอกจากการได้แหล่งความรู้หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ
จากการเข้าร่วมโครงการหรือเป็นพันธมิตรกับหน่วยงานไม่แสงหาผลกำไรเหล่านี้แล้ว
ผลพลอยได้ที่อาจเกิดขึ้นตามมาอย่างคาดไม่ถึงก็คือการสร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับธุรกิจ
หรือการได้รับการประชาสัมพันธ์สู่สังคมการช่วยเหลือสังคมเป็นการประชาสัมพันธ์ให้กับธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยอาจเสียค่าใช้จ่ายไม่มากหรือไม่เสียค่าใช้จ่ายเลยก็เป็นได้
นอกจากนี้ ธุรกิจยังอาจเลือกสร้างพันธมิตรธุรกิจได้กับเพื่อนต่างอุตสาหกรรมก็ได้
อุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีทางที่จะร่วมกันส่งเสริมการขายให้เกิดผลสะท้อนที่ดีมากขึ้นกว่าที่จะทำในรูปแบบต่างฝ่ายต่างทำ
เราจะเห็นได้ชัดเจนจากการเป็นพันธมิตรธุรกิจกันระหว่างธุรกิจการเงินในรูปของบัตรเครดิตต่างๆ
ที่มีระบบสะสมแต้มเพื่อแลกสินค้าต่างๆ
ตั้งแต่ของเด็กเล่น
อุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือนไปจนถึงการให้ที่พักในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
หากธุรกิจต่าง ๆ
จะคอยสังเกตการรวมตัวกันของพันธมิตรธุรกิจต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในเชิงกลยุทธ์ที่มีให้เห็นมากมายในปัจจุบัน
ท่านก็อาจจะมองเห็นรูปแบบที่ท่านอาจนำมาใช้กับธุรกิจของท่านได้บ้างเช่นเดียวกัน
แทนที่จะต้องเคร่งเครียดตรากตรำปั้นแต่งการเจริญเติบโตของธุรกิจด้วยตนเอง
น่าจะลองหันมาใช้กลยุทธ์พันธมิตรธุรกิจดูบ้าง
อาจได้ตัวช่วยผ่อนแรงที่ดีได้
อย่างไรก็ตาม การเป็นพันธมิตรธุรกิจ
ต้องอาศัยหลักการของการได้รับผลประโยชน์หรือผลตอบแทนร่วมกัน
ในลักษณะที่เรียกว่า
win-win
ทั้ง
2 ฝ่าย ไม่มีใครต้องเสียผลประโยชน์หรือเสมอตัว
ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งได้แต่เพียงฝ่ายเดียว
กลยุทธ์นี้จึงจะสามารถบรรลุความสำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์ที่คิดไว้ไม่ปล่อยให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนั่งเคียดแค้นอยู่แต่ฝ่ายเดียว
!!!!
อ้างอิงจาก - หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ธวัชชัย สุวรรณสาร
ที่ปรึกษาทางการตลาด และการสร้างแบรนด์
081-1689081
kengwealthy@gmail.com
Post a Comment