Header Ads

นวัตกรรมกับมูลค่าแบรนด์

นวัตกรรมกับมูลค่าแบรนด์

       ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อว่า บริษัทหรือตราสินค้า (แบรนด์) ที่มีมูลค่าการตลาดสูงๆ ทุกวันนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มเทคโนโลยี  โดยจากผลสำรวจล่าสุดประจำปี 2556 ของ  MillwardBrown บริษัทชั้นนำด้านการวิจัยทางการตลาดและสื่อสารการตลาดระดับโลก ที่ใช้ทฤษฎี BrandZ Model ในการประเมินมูลค่าแบรนด์ พบว่า ตำแหน่งสุดยอด 10 แบรนด์ที่มีมูล “BrandZ  Top Brands 2013” ตกเป็นของบริษัทในแวดวงเทคโนโลยีถึง 6 ราย ที่เหลืออีก 2 ตำแหน่งเป็นของแบรนด์อาหารและเครื่องดื่ม และแบ่งกันไประหว่างผลิตภัณฑ์ยาสูบและการเงิน รายละ 1 ตำแหน่ง


      แบรนด์มูลค่าสูงสุดข้างต้น เรียงตามลำดับ ได้แก่ แอปเปิล (185,071 ล้านดอลลาร์สหรัฐ), กูเกิล (113,669 ล้านดอลลาร์สหรัฐ), ไอบีเอ็ม (112,536 ล้านดอลลาร์สหรัฐ), แมคโดนัลด์ส  (90,256 ล้านดอลลาร์สหรัฐ), โคคา-โคล่า  (78,415 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ), เอทีแอนด์ที (75,507 ล้านดอลลาร์สหรัฐ), ไมโครซอฟท์ (69,814 ล้านดอลลาร์สหรัฐ), มาร์โบโร (69,383 ล้านดอลลาร์สหรัฐ), วีซ่า (56,060 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และ ไชน่า โมบาย (55,368 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
                
     โดยเฉพาะแอปเปิลนั้น แม้มูลค่าแบรนด์จะลดลงไปบ้างเล็กน้อย แต่ก็ยังรั้งตำแหน่งผู้นำตารางไว้ได้
                
     ทั้งนักวิเคราะห์การตลาด และองค์กรเจ้าของแบรนด์เหล่านี้ พูดตรงกันว่า การจะปั้นแบรนด์ให้ติดปากติดใจผู้บริโภคได้นั้น ปัจจัยส่วนหนึ่งคือ ต้องมีการลงทุนวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไห้ที่จะ สร้างความต่างให้ลูกค้า เพิ่มความหลากหลายของสินค้า เกาะติดโพสิชั่นนิ่งตลาดของตัวเองอยู่ ที่สำคัญสินค้าหรือบริการที่ออกมานั้น ต้องเป็นไปตามคำมั่นที่เคยประกาศไว้กับลูกค้า

     สื่อออนไลน์ชื่อดัง ZDNET.com เคยชำแหละงบลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาต่อปีของแอปเปิล พบว่า ช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมาปีนี้ บริษัทสุดยอดนวัตกรรมรายนี้ ใช้เงินเพื่อการวิจัยและพัฒนาไปแล้วถึง 63,000 ล้านบาท (2.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) หรือเฉลี่ยวันละ 1.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 48 ล้านบาท....ขอย้ำว่าเป็นตัวเลขต่อวัน

     เท่านั้นยังไม่พอ ครึ่งหลังของปีนี้ก็มีคำประกาศจากผู้บริหารแล้วว่า แอปเปิล จะเพิ่มการลงทุนด้านนี้จากเดิมอยู่ในระดับ 2% จากรายได้เป็น 3% จากรายได้รวมต่อปี

     ถ้าเห็นตัวเลขดังกล่าวแล้ว ตาโตเชื่อว่าผู้อ่านคงต้องทึ่งมากยิ่งขึ้น ถ้ารู้ว่า งบลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาของแอปเปิล ยังห่างจากไมโครซอฟท์ ที่รั้งเบอร์ 6 ในตารางนี้อีกกว่า 2 เท่าตัว เพราะยักษ์ใหญ่ด้านซอฟต์แวร์ของโลก ใช้จ่ายงบส่วนนี้ถึงปีละเกือบ 300,000 ล้านบาทต่อปี (10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
                
      ที่แน่ๆ ทุกวันนี้ เมื่อคำนวณการจัดสรรงบลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา เมื่อเทียบกับรายได้ของแอปเปิลแล้ว ยัง(น้อย)ห่างชั้นจากไมโครซอฟท์ 6 เท่าตัว และทิ้งห่างกูเกิล 5 เท่าตัว ดังนั้น เชื่อว่ายังมีโอกาสอีกมากมาย ที่แอปเปิล จะขยับลงทุนนวัตกรรมเพิ่ม เพื่อส่งสินค้ารุ่นใหม่ๆ มาเอาใจสาวกอย่างหลากหลาย และถี่ยิ่งขึ้น

 ...........................................

(นวัตกรรมกับมูลค่าแบรนด์ : คอลัน์อินโนเทค : โดย...คนชอบเล่า)



ธวัชชัย สุวรรณสาร
ที่ปรึกษาการตลาด และการสร้างแบรนด์
081-1689081
kengwealthy@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น