ยกระดับแบรนด์ ด้วยการสร้างคุณค่าให้แบรนด์ของคุณ
ทำไมแบรนด์ของคุณจึงไ่ม่ค่้อยเป็นที่รู้จัก?
ทำไมแบรนด์ของคุณจึงไม่สามารถทำให้สินค้าหรือบริการของคุณขายเพิ่มขึ้นจากที่เป็นอยู่ได้?
ทำไม? ทำไม? ทำไม?
คำตอบง่ายมากๆ เพราะแบรนด์ของคุณยังไม่มีุคุณค่าพอในสายตาของผู้บริโภคไงครับ
ผมเน้นเกือบทุกๆ บทความเกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ของผมแล้วว่าแบรนด์ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่สัญลักษณ์ รูปภาพ หรือตัวอักษรเพื่อแสดงออกให้คนทั่วไปได้ดูเท่านั้น แบรนด์คือสินทรัพย์ที่สำคัญยิ่งต่อองค์กร หากคุณปล่อยแบรนด์ไปตามยถากรรม ไม่สนใจ แบรนด์ของคุณก็ยากที่จะเกิด......
แล้วจะสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นกับแบรนด์ได้อย่างไรล่ะ? ไม่ต้องห่วงผมจะบอกถึงวิธีการสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ของคุณอย่างง่ายๆ ให้คุณ ซึ่งจะเป็นถนนนำไปสู่ความมีคุณค่าที่จะเกิดขึ้นกับแบรนด์ของคุณในอนาคตได้อย่างยั่งยืน
คุณค่าของตราสินค้า หรือ Brand Equity คือตรา หรือยี่ห้อ ของสินค้าหรือบริการที่ลูกค้าหรือผู้บริโภคมองเห็นว่ามีคุณค่า เป็นตราที่ผู้บริโภคมีทัศนคติ ความเชื่อที่ดีต่อคุณสมบัติของสินค้า มีความชื่นชอบในตราสินค้า ซึ่งจะนำไปสู่ความจงรักภักดีในสินค้าและตราสินค้านั้น
โดยการสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นกับตราสินค้านั้น คุณต้องสร้างความประท้ับใจให้เกิดขึ้้นกับตราสินค้านั้นเสียก่อน ซึ่งจะทำได้โดยการให้ผู้บริโภครับรู้ถึงคุณภาพของสินค้าและบริการ แล้วเกิดความประทับใจในสินค้าและบริการนั้น...... โดยการสร้างความประทับใจ ( Appreciation ) นั้น แตกต่างจากการสร้างความพึงพอใจ (Satisfaction)
หากผู้ับริโภคได้รับทราบ รับรู้มูลค่าเพิ่มได้นั้น จะทำให้สินค้าและบริการได้ัรับประโยชน์ดังนี้คือ
- ทำให้ลูกค้าและผู้บริโภคตัดสินใจมาซื้อสินค้าและบริการได้ง่ายขึ้น
- ทำให้สินค้าที่ตำแหน่งทางการตลาดอย่างมั่นคง และยั่งยืน
- ช่วยยกระดับสินค้าให้อยู่ในระดับสูง ไม่ว่าราคาสินค้า หรือบริการจะแพงแค่ไหนผู้บริโภคก็เต็มใจซื้อสินค้าหรือบริการจากคุณ
- เกิดช่องทางทางการจัดจำหน่ายที่น่าสนใจ หลากหลาย มากมาย
- ช่วยให้สามารถขยายสายผลิตภัณฑ์ได้ในอนาคต
ส่วนปัจจัยที่มีส่วนชี้บ่งคุณภาพของสินค้าและบริการเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับตราสินค้า มีดังนี้
1. การทำงาน และการใช้งานของสินค้า
สินค้าต้องทำงาน และใช้งานได้ตามที่แจ้งไว้ และตามคุณสมบัติของสินค้าอย่างแท้จริง เช่น LCD 3 D ทีวี สามารถรับชมภาพได้ทั้งภาพปกติ และภาพสามมิติเป็นต้น
2. รูปลักษณ์ของสินค้า และบริการ
ข้อนี้คือการออกแบบสินค้า ให้สะดวกและง่ายต่อการใช้งาน เกิดความภูมิใจให้กับผู้ใช้สินค้า
3. ความน่าเชื่อถือ
สินค้านั้นสามารถใช้ได้ีดี มีคุณภาพในการใช้งานทุกครั้ง เช่น สว่านเจาะ สามารถเจาะได้อย่างมีประสิทธิภาพทุกครั้ง ไม่ใช่ว่าบางครั้งก็ใช้ได้ บางครั้งก็ใช้ไม่ได้
4. ความทนทาน
สินค้ามีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ไม่แตกหักง่าย คุ้มค่ากับเงินของผู้บริโภคที่เสียไป
5. ความสามารถของการบริการ
สามารถและประสิทธิภาพของการบริการก่อนหรือหลังการขาย ธุรกิจควรให้ความสนใจในข้อนี้เป็นพิเศษเพราะสามารถทำให้ผู้บริโภคเกิดการซื้อซ้ำ และการบอกต่อเกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องการมากที่สุด
6. ภาพลักษณ์โดยรวมของสินค้าต้องดูดี
พิจารณา และพัฒนาสินค้าโดยรวมผู้บริโภคสามารถมองออกได้เลยว่า สินค้านั้นมีคุณภาพที่ดี เชื่อถือได้ สร้างความภูมิใจให้กับผู้บริโภค
7. ต้องมีความรับผิดชอบ
หากเกิดความผิดพลาดเกิดขึ้นกับสินค้าหรือบริการ เช่นสินค้ามีตำหนิ อะไหล่ภายในชำรุด ต้องรับผิดชอบในการซ่อมแซม หรือเปลี่ยนให้กับผู้บริโภคทันทีโดยไม่รีรอ หรือมีข้อแม้ อย่าคำนึงถึงผลกำไรที่ลดลงเลยครับ.....เพราะหากคุณคำนึงถึงแต่ผลกำไรที่ลดลงจากความรับผิดชอบที่คุณควรรับผิดชอบกับลูกค้ามันจะเป็น หอกเข้ามาแทงแบรนด์ ของคุณเอง และเป็นการยากที่จะกู้ความไว้วางใจของผู้บริโภคให้กับมาเช่นเดิมได้ คุณคงไม่อยากให้แบรนด์ของคุณเป็นแบบนั้ใช่ไหมครับ
เมื่อคุณนำปัจจัยต่างๆ เหล่านี้นำไปพัฒนา และทำให้ดีในสายตาของลูกค้าแล้ว แบรนด์ของคุณก็จะเป็นสินทรัพย์ที่จะมีแต่เพิ่มมูลค่ามากขึ้นๆ ต่อไปในอนาคต เหมือนที่แบรนด์ต่างๆ ทั่วโลกประสบความสำเร็จมาแล้วมากมาย
ธวัชชัย สุวรรณสาร
ที่ปรึกษาการตลาด และการสร้างแบรนด์
081-1689081
kengwealthy@gmail.com
Post a Comment