Header Ads

สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำรายละเอียดในแบบสอบถามเพื่อการวิจัยตลาด

     ผมสังเกตุเห็นได้ว่า แบบสอบถามที่องค์กรธุรกิจทั่วไปๆ ใช้กันอยู่ใช้รูปแบบประโยค และหัวข้อในการสอบถามไม่ค่อยถูกต้องนัก ซึ่งบางครั้งแบบสอบถามที่ผมได้สัมผัส นั้นเวลาอ่านจะคลุมเครือไม่จูงใจให้กลุ่มเป้าหมายกรอกเท่าใดนัก  ฉะนั้นในวันนี้ผมมีข้อแนะนำสำหรับรูปแบบประโยคและรายละเอียดที่ควรทำ และไม่ควรทำในแบบสอบถาม ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้กับแบบสอบถามทางการตลาด เพื่อการวิจัยการตลาดของคุณได้



   สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในแบบสอบถาม.
1. คุณต้องแน่ใจว่า คำถามที่ระบุในแบบสอบถาม ไม่มีอคติ  และไม่ควรใช้รูปแบบในการชักนำคำตอบให้ผู้ตอบโดยเด็ดขาด


2. ควรตั้งคำถามให้ง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ควรซับซ้อนจนเกินไป คำถามที่คุณรวมหลายความคิดเห็นเข้าไป หรือมี 2 คำถามรวมอยู่ในคำถามเดียวกันทำให้ผู้ตอบสับสนได้

3. ตั้งคำถามให้เฉพาะเจาะจงไปเลย ไม่ต้องอ้อมค้อม คุณจำเป็นต้องเรียงลำดับคำถามตามลำดับเหตุการณ์ และลำดับความคิดอย่างต่อเนื่อง

4. หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาเฉพาะที่เข้าใจยาก หรือเขียนย่อแล้วทำให้ไม่เข้าใจ ที่สำคัญต้องหลีกเลี่ยงภาษาทางการค้าที่เข้าใจยากพวก อักษรย่อที่เข้าใจเฉพาะกลุ่มห้ามโดยเด็ดขาด

5. ไม่ควรใช้คำที่ซับซ้อนเพื่อให้เกิดการหลงผิด หรือคำที่แสลงต่างๆ ที่ผิดธรรมดา ธรรมชาติของภาษา ควรใช้คำพูดธรรมดาที่พูดกันทั่วไป

6. ควรหลีกเลี่ยงคำพูดที่ดูคลุมเครือ เช่นคำว่า " ปกติ " หรือ " บ่อยครั้ง " เพราะเป็นคำที่ไม่มีความหมายเป็นการเจาะจง
7. หลีกเลี่ยงคำถามต่างๆ ในเชิงปฏิเสธ เช่น การพูดว่า " คุณเคย หรือไม่ "  ดีกว่าการพูดว่า " คุณไม่เคยใช่ไหม " เป็นต้น

8. คุณควรหลีกเลี่ยงคำถามต่างๆ เชิงสมมุติ การตอบคำถามต่างๆ โดยให้ผู้กรอกหรือกลุ่มเป้าหมายใช้จินตนาการในการตอบนั้นเป็นเรื่องยากและใช้เวลา คำตอบที่ได้อาจจะไม่น่าเชื่อถือ คุณภาพต่ำ

9. อย่าใช้คำที่ฟังแล้วเข้าใจผิด เข้าใจความหมายผิด สำคัญมากหากเป็นการสัมภาษณ์หรือสอบถามทางโทรศัพท์ เช่น " คุณมีความเข้าใจในเรื่อง..... หรือไม่ " คำตอบที่ได้อาจจะไม่ตรงประเด็นเท่าที่ควร

10. คำถามที่ให้เกิดความลำบากใจในการตอบ ควรกำหนดเป็นช่วงๆ เช่น บริษัทมีรายได้เท่าใด คุณมีอายุเท่าไร จะเป็นการดีที่สุดหากคุณกำหนดคำถามเหล่านี้เป็นช่วงๆ

11. คุณต้องแน่ใจว่า คำตอบที่กำหนดไว้ไม่ซ้ำซ้อนกัน คุณควรตรวจสอบแบบสอบถาม หรือชุดการสอบถามทุกครั้งว่ามีความซ้ำซ้อนกันในประโยคและรูปแบบสอบถามหรือไม่

12. ควรระบุคำตอบอื่นๆ ในคำตอบที่กำหนดคำตอบให้เลือกด้วย นอกเหนือจากคำตอบที่คุณได้เตรียมไว้ให้แล้วในแบบสอบถาม

     ลองนำไปปรับใช้กับแบบสอบถามทางการตลาดของคุณดูน่ะครับ แล้วประสิทธิภาพของคำตอบที่ได้รับจากแบบสอบถามจะมีคุณภาพเหมาะสำรับการที่คุณจะนำไปใช้ทำการตลาดต่อไป

ธวัชชัย สุวรรณสาร
Marketing Coach
081-1689081

ไม่มีความคิดเห็น