พันธกิจจุดกำเนิดที่กำหนดความอยู่รอดขององค์กรของคุณ
การตลาดยุคใหม่ในอนาคต เป็นการตลาดทีี่ไม่ได้เน้นในเรื่องของสินค้าอีกต่อไปแล้ว แต่จะเปลี่ยนไปสู่ยุคของการตลาดของผู้บริโภคที่เจาะลึกลงไปถึงจิตวิญญาณของผู้บริโภคและสังคม ดังนั้นหากองค์กรต้องการทำการตลาดเพื่อทำให้ธุรกิจ สินค้า บริการของตนเป็นที่รู้จัก จะมุ่งแต่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าเพียงอย่างเดียวไม่ได้อีกต่อไปแล้ว แต่จะต้องดูไป พิจารณาไปให้ลึกถึงจิตใจ จิตวิญญาณ ของสังคมด้วย
ปีเตอร์ ดักเกอร์ ปรมาจารย์ด้านการจัดการระดับโลกผู้ล่วงลับ ได้อธิบายอย่างชัดเจนว่า การทำองค์กรธุรกิจจะทำการตลาดได้ประสบความสำเร็จ และก่อเกิดกำไรนั้น ทุกอย่างจะต้องเริ่มต้นมาจาก " พันธกิจ " ( Mission ) โดยได้อธิบายไว้ว่า องค์กรทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จยุคใหม่นั้นไม่ได้เริ่มต้นจาก ผลตอบแทนทางการเงิน แต่เริ่มต้นจากการปฏิบัติตามพันธกิจขององค์กรที่กำหนดไว้ ผลตอบแทนทางด้านการเงินหรือกำไร เป็นผลลัพธ์ที่เกิดตามมาภายหลังแล้ว
มีผู้ที่เข้ามาขอคำปรึกษาจากผมมากมาย ว่า ควรกำหนดกลยุทธ์อย่างไรในการทำการตลาด? ควรกำหนดลูกค้าเป้าหมายอย่างไร? จะบุกเบิกตลาดอย่างไรดี? และอื่นๆ อีกมากมายทางการตลาด แต่เมื่อผมสอบถามกลับไปถึงว่า " คุณมีพันธกิจ ขององค์กรของคุณหรือไม่ " บังเกิดสิ่งที่น่าประหลาดใจว่า มีผู้ที่ตอบได้น้อยมาก เทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ก็ไม่ถึง 10% เท่านั้นเอง
การที่ผมถามคนที่มารับคำปรึกษาจากผมทุกคนว่า คุณมีพันธกิจหรือไม่นั้น เพราะว่าพันธกิจเป็นสิ่งที่กำหนดทุกอย่างในการทำการตลาด หากองค์กรใดปราศจากพันธกิจ ก็เท่ากับตาบอด ทำให้ไม่สามารถกำหนดทิศทางทางการตลาดให้สอดคล้องกับองค์กรได้ ทำให้องค์กรล้มเหลวทางการตลาดอย่างสิ้นเชิง
พันธกิจ ( Mission ) คือ เหตุผลที่สำคัญในการดำรงอยู่ของบริษัท และองค์กร เพราะเป็นสิ่งที่สะท้อนเป้าหมาย และคุณค่าพื้นฐานของการดำรงอยู่ขององค์กร องค์กรต้องกำหนดพันธกิจให้สอดคล้องกับรากฐานของบริษัท เพราะพันธกิจเป็นกำหนดความเติบโตของบริษัท ว่าจะมีความยั่งยืน และมั่นคงเพียงใด
ขออ้างอิงหลักการของ ชาร์ล แฮนดี ว่า พันธกิจเปรียมเสมือนกับโดนัทที่สลับที่กันระหว่างแป้งโดนัท และรูของโดนัท สลับให้แป้งโดนัทมาอยุู่ตรงกลาง ส่วนรูกลมอยู่ด้านนอก มองตามทฤษฎีโดนัท แกนกลางจะอยู่กับที่ พื้นที่ว่างโดยรอบจะยืดหยุ่นได้ พันธกิจขององค์กรคือ แกนที่อยุ่ตรงกลางที่ไม่เปลี่ยนแปลง ของเขต การทำงานของบริษัทสามารถยึดหยุ่นได้ แต่ต้องเข้ากันได้กับแกนกลาง เป็นทฤษฎีที่แสดงได้อย่างขัดเจนถึงความสอดคล้องระหว่างพันธกิจ และนโยบายขององค์กรอย่างชัดเจน
ยกตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นเจ้าของบริษัททำรองเท้าบริษัทหนึ่ง คุณต้องการให้สินค้ารองเท้าของคุณเป็นแบบพรีเมี่ยม คุณอาจจะกำหนดพันธกิจว่า " สร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่าในวันนี้ " การทำการตลาด โฆษณา ประชาสัมพันธ์ รูปแบบของสินค้า หีบห่อต้องสอดคล้องกับระดับพรีเมืียม ต้องเด่นทุกอย่างเป็นต้น
แบบนี้แล้วคุณควรจะกำหนดพันธกิจของคุณเป็นอันดับแรกก่อนว่า องค์กรคุณจะเดินทางไปในทิศทางใด ไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด เมื่อมีการกำหนดพันธกิจแล้ว ก็วางแผนกลยุทธ์ต่างๆ ของสินค้าให้สอดคล้องกับพันธกิจก็เท่านั้นเอง จะทำให้องค์กร และพนักงานยึดมั่นในพันธกิจเดียวกัน อันจะนำมาซึ่งผลทางการตลาดมากมาย
แล้วคุณล่ะ: กำหนดพันธกิจขององค์กรของคุณแล้วหรือยัง ถ้ายังก็ทำเสียตั้งแต่วันนี้เลย!
Tawatchai Maketing Coach
081-1689081
coachtawatchai@gmail.com
Post a Comment