Header Ads

เรียนรู้เลยเดี๋ยวนี้ เทรนด์ในการสร้างแบรนด์ปี 2018 ซึ่งมันใช่เลย


       สวัสดีปีใหม่ 2018 ครับ ซึ่งเป็นปีที่การตลาดเปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบการทุกคน เป็นยุคแห่งการตลาด 4.0 อย่างเต็มตัว ผู้ประกอบการเองแม้กระทั่งนักการตลาด ต่างก็ปรับตัว ปรับกลยุทธ์ เพื่อให้การทำธุรกิจล้ำหน้าเกินใคร  เพราะว่าใครมัวแต่ชักช้าในการตลาดยุคนี้ คำว่า " จบ " คงอยู่ไม่ไกล

       ผมเชื่อว่า เทรนด์ การตลาดปี 2018 ที่ผมกำลังจะบอกคุณนี้จะเป็นเทรนด์ ทีอยู่อย่างต่อเนื่องไปอีกประมาณ 2-3 ปีแน่นอน เพราะเดี๋ยวนี้อะไรๆ ก็ออนไลน์  อะไรๆ ก็ Social Network ซึ่งธุรกิจได้นำเอาเทคโนโลยีดังกล่าวนี้มาใช้ในการทำการตลาดของตนอย่างมากมาย  แต่นั่นแหล่ะครับ การใช้อะไรมากจนเกินไป จนลืมการทำการตลาดแบบเดิมๆ ที่ใช้กัน ก็ไม่ใช่สิ่งที่ดีเสียทีเดียวน่ะครับ

      
Picture from popup-builder.com

           เทรนด์การตลาด ในโลกที่เปลี่ยแปลงไปอย่างรุนแรงนี้ สิ่งเดียวที่คุณทำได้ก็คือ " การวิ่งตามเทรนด์ให้ทัน "  ซึ่งหากใครตกเทรนด์นี้บอกได้เลยว่าพลิกฟื้นช้า หรือตายไปจากโลกธุรกิจแน่นอน เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ

           1. 2018ยุคทองของผู้ประกอบการรายเล็กในการสร้างแบรนด์ - ปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคที่ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทโอกาสของผู้ประกอบการรายเล็กในการสร้างแบรนด์ในยุคนี้จึงถือว่าเป็นยุคทองอย่างแท้จริงก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการรายเล็กแทบไม่มีเวทีในการแจ้งเกิดเพราะการจะสร้างแบรนด์หรือสื่อสารแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในยุคที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่าต้องใช้เงินในการซื้อพื้นที่สื่อและมีทางเลือกน้อย เป็นเพราะสื่อรูปแบบเดิมที่เรียกได้
เป็นTraditional Mediaที่ได้รับความนิยมและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีมีราคาที่ไม่สอดคล้องกับกรอบงบประมาณของเอสเอ็มอี ดังนั้นในปี 2018ผู้ประกอบการรายใดที่มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจนมีเอกลักษณ์ของแบรนด์ที่โดดเด่นและรู้จักใช้สื่อดิจิทัลมาเป็นช่องทางในการสื่อสารแบรนด์แบบให้โดนรับรองแจ้งเกิดกันได้อย่างแน่นอน

       2.สื่อดิจิทัลยังคงเป็นสื่อที่ทรงอิทธิพลสูงสุด เว็บไซต์เกี่ยวกับแบรนด์ชื่อดังของเมืองไทย Brand Buffet ได้อ้างถึงรายงานของ We AreSocial บริษัทเอเจนซี่วิจัยด้านโซเชียลมีเดียชื่อดังที่ได้อัพเดทความเคลื่อนไหวในโลกดิจิตอล (Digital Movement)ในแต่ละปี ซึ่งในปี 2017  มีประเด็นที่น่าสนใจคือประเทศที่ใช้งานFacebook มากที่สุดยังเป็นอเมริกา อยู่ที่ 214 ล้านคนส่วนเมืองที่ใช้งาน Facebook มากที่สุดคือ กรุงเทพ ที่ 24 ล้านคนสำหรับในประเทศไทยเทรนด์ของเม็ดเงินโฆษณาไหลมาที่สื่อดิจิทัลทำให้สื่ออื่นๆ

            จากเดิมที่เคยมีรายได้จากโฆษณาต่างมีรายได้ลดลงอย่างน่าใจหายนั่นหมายความว่าเจ้าของแบรนด์ต้องตระหนักถึงความสำคัญในการใช้เงินกับสื่อโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัล เพราะมีความทรงพลัง ประหยัดงบประมาณและสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเฉพาะเจาะจง เจ้าของแบรนด์จึงควรรู้จักลักษณะของสื่อออนไลน์และสื่อโซเชียลมีเดียแต่ละประเภทที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสร้างแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น Facebook /Line/ Youtube เป็นต้น รวมถึงเรียนรู้สื่อโซเชียลมีเดียรูปแบบใหม่ๆที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทในอนาคต

      3. Functional Branding Vs Emotional Branding การซื้อสินค้าหรือบริการในยุคปัจจุบันผู้บริโภคใช้ความรู้สึกหรือเป็นเรื่องของอารมณ์มากกว่าเหตุผลสินค้าที่เล่นกับความรู้สึกของผู้บริโภคโดยเฉพาะสินค้าที่มีราคาสูงหรือแบรนด์เนมจึงเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคยอมจ่ายเพื่อให้ได้ครอบครองมากกว่าที่จะมองถึงประโยชน์ใช้สอยที่จะได้รับ ดังนั้นหากเจ้าของแบรนด์เข้าใจเรื่องEmotional Branding เป็นอย่างดีการจะสื่อสารกับลูกค้าต่อจากนี้ไปจึงจะเป็นการพูดคำว่าสินค้าใช้แล้วจะรู้สึกอย่างไรสร้างความภาคภูมิใจในการได้ใช้สินค้า/ บริการได้อย่างไรมากกว่าที่จะบอกว่าคุณสมบัติของสินค้าดีอย่างไรหรือใช้งานอย่างไรซึ่งเป็นเรื่องของ Functional Brandingที่ทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องเผชิญกับการแข่งขันราคาเพื่อแย่งชิงส่วนครองตลาดหรือ Market Share อีกต่อไป การสร้างแบรนด์ในปี 2018 จึงต้องมีการผสานระหว่างความเป็น FunctionalBranding Vs Emotional Branding ได้อย่างลงตัว

      4. Story Telling Vs Story Doing - หลายๆแบรนด์มักจะบอกกับผู้บริโภคว่ามีเรื่องเล่าเกี่ยวกับแบรนด์ตัวเองอย่างไรและตั้งใจจะทำอะไรเพื่อผู้บริโภคบ้างโดยถ่ายทอดผ่าน Tag Lineหรือถ้อยคำโฆษณาที่มีความสวยหรูและดูดีแต่ไม่นำไปสู่การปฏิบัติหรือสร้างประสบการณ์ร่วม (BrandExperience)ให้กับผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง แบรนด์ในยุด 2018จึงต้องทำในสิ่งที่พูดหรือต้องทำมากกว่าพูดจึงจะเป็นแบรนด์ที่สามารถครอบใจผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง

      5.การสื่อสารแบรนด์ที่ต้องเน้นความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น - ด้วยเทรนด์ของพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเปลี่ยนเป็นสังคมเมือง ครอบครัวขยายน้อยลงเปลี่ยนเป็นครอบครัวเดี่ยวพฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อสินค้าหรือบริการจึงมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยการสื่อสารแบรนด์ในวงกว้างในสินค้าประเภทเดียวกันที่หวังว่าจะพูดกับลูกค้าทุกคนแบบเดียวกันคงใช้ไม่ได้อีกต่อไปการสื่อสารแบรนด์ในยุคปัจจุบันจึงต้องสื่อสารกับลูกค้าที่ใช่จริงๆและมีความแคบลงหรือเป็น Niche Market มากขึ้นเพราะลูกค้าแต่ละกลุ่มจะมีพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกันหากเจ้าของแบรนด์ที่ยังไม่ปรับตัว ยังพูดเรื่องเดียวกันกับคนทุกกลุ่มอาจต้องเตรียมตัวเผชิญกับความพ่ายแพ้ ถ้าคู่แข่งที่อยู่บน Segmentเดียวกันสามารถปรับตัวได้เร็วกว่า

      6. Digital Media Vs Traditional Media:ในยุคที่ดิจทัลทรงพลังมาก ทำให้เจ้าของแบรนด์สินค้าหลายๆแบรนด์ทุ่มเทและโฟกัสไปที่ดิจิทัลหรือโซเชียลมีเดียเพียงอย่างเดียวอาจละเลยสื่อดั้งเดิมที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารการตลาดได้เป็นอย่างดี อาทิ Personal Sellingหรือการขายผ่านบุคคลที่ยังสามารถใช้ได้ดีกับสินค้าที่ต้องการการอธิบายขยายความได้สูงหรือการโฆษณาผ่านหีบห่อที่สามารถบอกกล่าวเรื่องราวของสินค้าได้บนบรรจุภัณฑ์ได้ดีและเป็นการผสมผสานระหว่างสื่อดั้งเดิมกับสื่อดิจิทัลได้ด้วย หมายความว่าหากหีบห่อสามารถมี QR Codeบนบรรจุภัณฑ์ก็สามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลสินค้าบนเว็บไซต์หรือหน้าเพจได้เช่นกันเจ้าของแบรนด์จึงควรใช้ประโยชน์จากสื่อทั้งสองประเภทให้ผสานกันอย่างลงตัวมากกว่าจะใช้เพียงรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งถึงแม้น้ำหนักในการใช้เงินจะค่อนไปทางสื่อที่เป็นดิจิทัลหรือออนไลน์ก็ตาม

       7. การหลอมรวมกันของเทคโนโลยี (convergence)  - มุมมองของพ..ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช. มองว่าเทคโนโลยี mobile, Internet, IoT, AI, Big data และsocial network เทคโนโลยีเหล่านี้ ได้เกิดการหลอมรวม(convergence) กันอย่างแนบแน่นเพราะเกิดการเชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยี mobile broadband(4G/5G) ที่มีความเร็วสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ แบบ realtimeจนส่งผลบริษัทมีความยุ่งยากซับซ้อนในการควบคุมภาพของแบรนด์ได้ และจะยิ่งยุ่งยากซับซ้อนอย่างยิ่งต่อๆ ไปในอนาคตจากมุมมองดังกล่าวเจ้าของแบรนด์จึงควรตระหนักถึงความสำคัญในการใช้เทคโนโลยีในการสร้างแบรนด์เพื่อให้เกิดความโดดเด่นและสร้างการจดจำทั้งนี้ยังมีเรื่องของ AR หรือ Augmented Realityที่สามารถนำโลกเสมือนจริงให้มาอยู่ในโลกของความเป็นจริงได้จึงน่าจะเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่ช่วยในการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งได้ในปี 2018 และในอนาคต

       8. ความรับผิดชอบต่อสังคมจะช่วยให้แบรนด์เติบโตอย่างยั่งยืน - แบรนด์ใดๆจะเติบโตได้อย่างยั่งยืนต้องรับผิดชอบต่อสังคมตั้งแต่วันแรกที่เริ่มต้นดำเนินธุรกิจยุคนี้เป็นยุคของคนดีที่จะได้รับการตอบรับจากผู้คนในสังคมยกตัวอย่างกรณีตูน บอดี้สแลมออกมาวิ่งเพื่อหาเงินช่วยโรงพยาบาลทั้ง 11 แห่งทั่วประเทศในแคมเปญ ก้าวคนละก้าวหากวันนี้ถ้าคนที่ลุกขึ้นมานำวิ่งไม่ใช่ตูน บอดี้สแลม กระแสตอบรับอาจไม่ดีเท่านี้นั่นเป็นเพราะว่าต้นทุนทางสังคมหรือคุณงามความดีที่ตูนสร้างไว้จึงทำให้ Event Brand ก้าวคนละก้าว ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเพราะผู้คนที่มาร่วมบริจาคไม่มีข้อกังขาในตัวของ BrandAmbassador ดังนั้นแบรนด์ต่างๆจึงจำเป็นต้องลุกขึ้นมารับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ตั้งแต่วันนี้เพื่อสร้างความเชื่อมั่น หรือ Trust ให้กับลูกค้าหรือผู้มารับบริการจึงจะสามารถช่วยให้แบรนด์เติบโตอย่างยั่งยืน ได้อย่างแท้จริงเมื่อเจ้าของแบรนด์ทราบถึงเทรนด์ที่จะเข้ามาช่วยในการสร้างแบรนด์ให้โดดเด่นขึ้นในปี 2018 แล้ว ก็หวังว่าแบรนด์สินค้าหรือบริการของแต่ละกิจการจะสามารถสร้างความโดดเด่น ครองใจผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี และเติบโตได้อย่างยั่งยืนเกิดความรักและภักดีในตราสินค้า เปลี่ยน Trade Mark เป็น LoveMark ได้อย่างที่ตั้งใจ


                                                                                           บทความจาก http://www.newsplus.co.th/
                                    

ไม่มีความคิดเห็น