Header Ads

กลยุทธ์สร้างตัวตนของแบรนด์ในจิตใจของลูกค้าของคุณ

      Brand Character หรือ การสร้างตัวตนของแบรนด์นั้น  คุณปฏิเสธไม่ได้ใช่ไหมว่า การทำ Branding เป็นปัจจัย หรือสิ่งที่จำเป็น สำคัญเป็นอย่างมากในการทำการตลาดแบรนด์ นอกเหนือจากการทำสินค้าให้มีคุณภาพ ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายแล้ว คุณต้องมีการทำให้สินค้า หรือธุรกิจของคุณให้เป็นที่จดจำของกลุ่มเป้าหมาย. การทำสินค้าให้มีคุณภาพอย่างเดียว ไม่เพียงพอเสียแล้วในยุคการตลาดปัจจุบัน ดังนั้นจึงต้องมีการสร้างตัวตนให้กับแบรนด์ของคุณ เพื่อให้ลูกค้าของคุณเกิดความภักดีในตัวสินค้า และรักความเป็นตัวตนของแบรนด์ของคุณ ฉะนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า จุดที่ทำให้สินค้าของคุณอยู่รอด อยู่นาน ในตลาดสินค้าและบริการปัจจุบัน ก็คือ ลูกค้า กลุ่มเป้าหมายของคุณมีคุณค่าในจิตใจของเขามากเพียงใดนั่นเอง


  
      ในเรื่องของ Brand Character นั้น เปรียบเสมือนกับคน ที่มีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันออกไป ฉะนั้น แบรนด์ ก็เหมือนกับคนที่มีจุดเด่น นิสัยที่แตกต่างกันในแต่ล่ะแบรนด์ คุณต้องสร้างความแตกต่าง และแสดงให้ลูกค้าของคุณให้เห็นถึง Brand Character ให้ชัดเจน โดยศาสตร์ของ Brand Character นั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ศาสตร์ด้วยกัน คือ 1. Brand Personality และ Brand Archetypes. โดยในส่วนของ Brand Personality  นั้นผมได้มีการลงบทความไปแล้ว จึงไม่ขอกล่าวซ้ำอีก. โดยในบทความนี้จะกล่าวถึง Brand Archetypes ครับ

          Brand Archetypes. เป็นแนวคิดที่ได้ศึกษาจากจิตวิทยาของมนุษย์ในเรื่องของ อิทธิพลของผลโดยรวมของจิตใต้สำนึกของมนุษย์เรา เป็นแนวคิดที่คิดค้นโดย Carl Gustav Jung  เป็นแนวคิดที่ที่แสดงผลรวมของจิตใต้สำนึกของมนุษย์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรม. โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆด้วยกันคือ

           1. กลุ่มจิตวิญญาณ ( Spirit )  เป็นกลุ่มคนที่ยึดมั่นในอุดมการณ์ ตั้งมั่นในความคิด และแนวทางของตนเอง
           2. กลุ่มความคิด ( Thought )  เป็นกลุ่มคนที่สุขุม และมีสติปัญญาล้ำลึก แต่มีเสน่ห์ในตัว ที่น่าค้นหา
           3. กลุ่มพลังงาน ( Energy )  เป็นกลุ่มคนที่เต็มไปด้วยพลังในการสร้างสรรค์เปลี่ยนแปลง 
           4. กลุ่มอารมณ์ ( Emotion ). เป็นกลุ่มคนที่เป็นมิตร มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  ดูใจดีมีเสน่ห์อย่างเต็มเปี่ยม
           5. กลุ่มแก่นสาร ( Substance )  เป็นกลุ่มคนที่เต็มไปด้วยสาระ และความอุดมสมบูรณ์มั่งคั่ง 

          หาก Brand Personality คือบุคลิกภาพของแบรนด์ที่เห็นจากภายนอกที่สะท้อนออกมาแล้ว. Brand Archetypes ก็คือลักษณะนิสัย และพฤติกรรมของแบรนด์นั่นเอง คุณต้องวิเคราะห์ออกมาคู่กัน ให้ชัดเจน และแสดงออกมาในสินค้า และบริการของคุณ

          นอกจากนี้แล้ว Brand Archetypes สามารถแบ่งออกได้เป็น 12 ประเภทด้วยกันคือ

          1. Innocent  เป็นคนที่เรียบง่าย ต้องการความเป็นสุขเป็นปัจจัยสำคัญ ทำอะไรก็ได้ที่ให้มีความสุข
          2. Explorer  เป็นคนที่มีพลัง ชอบความแปลกใหม่ท้าทาย ชอบทำสิ่งใหม่ๆ
          3. Sage        เป็นคนที่ชอบใฝ่หาความรู้ เป็นพวกนักคิด เป็นนักปราชญ์ เข้าใจชีวิต
          4. Hero        เป็นคนที่ชอบเรื่องการแข่งขัน เป้าหมายคือชัยชนะ
          5. Outlaw    เป็นคนที่ชอบท้าทายกฎกติกา รักอิสระ ตามใจตัวเอง ชิวๆ สบายๆ
          6. Magician เป็นคนที่ชอบสร้างสิ่งที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ มีจินตนาการ ไม่หยุดนิ่งที่จะสร้างสรรค์
          7. Everyman เป็นคนที่ธรรมดาทั่วไป เข้ากับคนได้ง่าย แจ่มใส ชอบเข้าหาผู้คน
          8. Lover.      เป็นคนที่รักคนอื่น มีความสัมพันธ์เป็นพื้นฐานชอบให้คนรักตัวเอง แคร์ผู้อื่น
          9. Jester       เป็นคนที่มีความสนุกชอบสังสรรค์อารมณ์ดี 
         10. Caregiver เป็นคนที่ห่วงใยคนอื่นเสมอ ชอบแบ่งปัน และช่างดูแล
         11. Creator.   เป็นคนที่ชอบสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา
         12. Ruler       เป็นคนที่เกิดมาเพื่อเป็นผู้นำ ชอบปกครอง อำนาจ

         ผมแนะนำให้คุณวิเคราะห์ บุคลิกภาพของแบรนด์ ( Brand Pernality ) ให้ชัดเจน และดูถึง ตัวตนด้านนิสัยของแบรนด์คุณด้วย ( Brand Archetypes ) ให้สอดคล้องกัน เมื่อกำหนดอย่างชัดเจนแล้ว ให้คุณทำกิจกรรมการตลาด เช่นการโฆษณา. การประชาสัมพันธ์  และกิจกรรมทางการตลาดอื่นให้สอดคล้องกัน กับที่คุณกำหนดขึ้น ยิ่งคุณสื่อสารอย่างชัดเจนมากเท่าใด ตัวตนของแบรนด์คุณจะเกิดความชัดเจนในใจของลูกค้ามากขึ้นเท่านั้น และจะนำมาซึ่งความภักดีในสินค้า และบริการของคุณ อย่างที่คุณถวิลหามาโดยตลอด






ไม่มีความคิดเห็น