Header Ads

CSR ทำไกลไม่เท่าไหร่หรอก ทำใกล้ๆ ซิดีกว่าเห็นๆ

 ก่อนอื่น ผมขอบอกถึงความหมายของคำว่า CSR กันก่อน

  “Corporate Social Responsibility (CSR) หมายถึง ความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อมขององค์กร ซึ่งคือการดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี โดยรับผิดชอบสังคมและสิ่งเเวดล้อมทั้งในระดับไกลและใกล้ อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน"

    การทำ CSR ก็คือการให้คุณค่า กลับคืนสู่สังคม และสิ่งแวดล้อมนั่นเอง โดยธุรกิจต้องมีบทบาทเป็นผู้ให้บ้างหลังจากที่ทำกำไรจากลูกค้า หรือผู้บริโภค การทำกิจกรรม CSR นั่นสามารถทำได้หลายกิจกรรม ง่ายๆ ก็คือคุณจะทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้สังคม และสิ่งแวดล้อมได้รับผลประโยชน์

   แต่จะมีสักกี่ธุรกิจในประเทศที่จะเป็นการทำ CSR ที่แท้จริง เป็นผู้ให้ที่แท้จริง แน่นอนการทำ CSR ก็เพื่อหวังผลทางด้านการตลาด เพื่อสัง Brand ของธุรกิจเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น เมื่อรู้จักมากขึ้นก็จะมีความภักดีต่อตราสินค้ามากขึ้น อันนำมาซึ่งยอดขาย และภาพพจน์ที่ดีต่อธุรกิจ สินค้า และบริการ  แต่ส่วนมากแล้ว การทำกิจกรรม CSR จะมีการมุ่งเน้นในเรื่องของการทำตลาด โฆษณามากเกินไป บางครั้งทำมากจนทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงผลประโยชน์ ที่แฝงอยู่  ซึ่งไม่ใช้การทำ CSR ที่ดีเลย



     การทำกิจกรรม CSR ธุรกิจไม่จำเป็นต้องทำใหญ่โต ต้องออกสื่อมากมาย ต้องทำในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ หรือต้องเป็น CSR ระดับประเทศ  คุณเริ่มทำกิจกรรมดังกล่าวกับชุมชน ใกล้ๆ ธุรกิจ หรือบริษัทคุณก่อนเลย  ในข้อนี้ ธุรกิจจะละเลยกันมาก ที่จริงแล้ว พื้นที่การทำ CSR ที่ดีที่สุดก็คือชุมชนต่างๆ ใกล้กับองค์กรนั่นๆ ตั้งอยู่นั่นเอง

    การทำกิจกรรม CSR ภายในชุมชนที่ธุรกิจนั้นตั้งอยู่ จะเอื่อประโยชน์มากมายกับธุรกิจ โดยจะแยกเป็นข้อดีต่างๆ ได้ดังนี้

     1. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับชุมชน

         ยิ่งเป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชน มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ช่วยสร้างงานในชุมชน ร่วมทำกิจกรรมในชุมชนอย่างยั่งยืน และสม่ำเสมอ จะนำมาซึ่งความร่วมมือระหว่างคนในชุมชนและบริษัท คุณจะได้ประโยชน์ในแง่การตลาดมากขึ้น ผู้นำชุมชน คนในชุมชน จะเกิดความผูกพันธ์กับธุรกิจ อันนำมาซึ่งประโยชน์ในหลายๆด้าน 

     2. ในเรื่องของบุคลากรในการปฏิบัติงานในธุรกิจ

          ปัญหาการขาดแคลนแรงงานจะน้อยลง เนื่องจากคนในชุมชนเมื่อเกิดความผูกพันธ์กับ ธุรกิจแล้วจะก่อเกิดความช่วยเหลือทางอ้อม จะเกิดการบอกต่อในการจ้างงานของธุรกิจ เมื่อชุมชนเกิดความร่วมมือ ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ก็อาจจะไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป

      3. ทรัพยากรทางการผลิต

          ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ บริษัท SCG ซีเมนต์ ที่การเหมาสัมปทาน แหล่งผลิตปูนซึ่งจะต้องมีการใช้ทรัพยากรหินปูนในพื้นที่ บริษัทได้จัดกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือชุมชนนั้นๆ อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการมีงานทำ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การส่งเสริมอาชีพ และอื่นๆ มากมาย เพราะบริษัทเห็นว่ากิจกรรมสัมปทานที่บริษัททำนั้น ก่อเกิดผลกระทบมหาศาลเพียงใดต่อชุมชน  คุณจะสังเกตุได้ว่า ทุกๆที่ที่ SCG ได้รับสัมปทาน จะก่อเกิดกระแสต่อต้านในพื้นที่น้อยมาก เพราะอะไรน่ะหรือ  ก็เพราะบริษัทมุ่งเน้นตอบแทนคืนสู่สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างมากมายนั่นเอง   นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของ SCR ที่ต้องนำมาพิจารณาก็คือ  " หากธุรกิจของคุณส่งผลกระทบต่อคน และสิ่งแวดล้อมในชุมชนมากเพียงใด คุณต้องทำกิจกรรมเพื่อกลับคืนสู่สังคม และสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด "  หากธุรกิจใดมุ่งแต่จะกอบโกยทรัพยกรในพื้นที่อย่างเดียว โดยไม่แบ่งส่วนรายได้ตอบแทนสู่คนในพื้นที่บ้าง  ธุรกิจก็จะอยู่ไม่นาน เพราะเกิดกระแสต่อต้านนั่นเองครับ


            การทำกิจกรรม CSR ในพื้นที่ที่ธุรกิจนั้นตั้งอยู่ คุณไม่จำเป็นต้องให้ธุรกิจของคุณทำ กิจกรรมดังกล่าวเพียงฝ่ายเดียว คุณอาจจะร่วมกับบริษัท และธุรกิจอื่น ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อทำกิจกรรม CSR หมดยุคการตลาดยุคเดิมแล้วครับ ที่ต้องแยกกันทำ ทำร่วมกันไม่ได้ การตลาดยุคใหม่ไม่มีความเห็นแก่ตัวครับ คงมีแต่ความร่วมมืออันจะนำมาซึ่งผลตอบแทน กำไร และยกระดับชีวิตของคนในชุมชนเดียวกันให้ดีขึ้น

          ทั้งนี้มีความเข้าใจผิดคิดว่ากิจกรรม CSR สามารถทำได้เพียงบริษัท หรือธุรกิจขนาดใหญ่ที่เงินทุนหนาๆ เท่านั้น คุณสามารถทำกิจกรรม CSR ได้ตั้งแต่ธุรกิจขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่ บางทีธุรกิจขนาดเล็กก็ทำกิจกรรมดังกล่าวได้ดีกว่า ธุรกิจขนาดใหญ่ด้วยซ็ำ มันขึ้นอยู่กับความคิด และขนาดการให้ ของคุณว่ามันยิ่งใหญ่มากน้อยแค่ไหน 

           แล้วคุณกับธุรกิจของคุณล่ะ พร้อมที่จะเป็นผู้ให้กับสังคมของคุณเองมากน้อยแค่ไหน ?


ธวัชชัย สุวรรณสาร
Marketing Mentor

ไม่มีความคิดเห็น