Header Ads

กลยุทธ์จิตวิทยาการตลาด เสียงสื่อกระตุ้นการซื้อ


     เสียงเป็นสื่อทางการตลาดที่แฝงไปด้วยความอัศจรรย์หลายๆ รูปแบบ การใช้เสียงทำการตลาดอย่างถูกต้องจะทำให้เกิดการซื้อแบบไม่จงใจเกิดขึ้น ผมเคยแจ้งสาเหตุหลักๆ ของการซื้อของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายส่วนมากแล้ว ผู้บริโภคหรือลูกค้าจะซื้อสินค้าหรือบริการของคุณด้วยอารมณ์ ไม่ใช่ซื้อด้วยเหตุผล

     สื่อเสียงที่สื่อออกไปจะต้องเป็นเสียงที่ไม่ขัดกับแคมเปญการโฆษณา หรือสินค้า สื่อเสียงที่ดีจะต้องก่อให้เกิดอารณ์ต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการซื้อของผู้บริโภคตามมา ในวันนี้ผมจึงได้นำการใช้สื่อเสียงเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการทำโฆษณามาให้ได้ศึกษาได้อ่านกัน ซึ่งตุณสามารถนำไปปรับใช้ได้ทันที


     1. การใช้เสียงเพื่อเป็นการย้ำให้เกิดการปฏิบัติหลังจากได้มีเสนอขายไปแล้ว
          คุณเคยได้ยินเสียงโทรศัพท์ ที่ดังต่อจากการแจ้งราคาสินค้าเรียบร้อย  เมื่อคุณไดัสังเกตดู หรือรู้สึกเมื่อได้รับฟังเสียงโทรศัพท์ฺแล้ว คุณจะเกิดความต้องการที่จะกดหมายเลขโทรศัพท์ที่ีมีขึ้นไว้หน้าจอ เพื่อทำการซื้อโดยอัตโนมัติหลังจากได้รับทราบรายละเอียดของสินค้าแล้ว การใช้เสียงลักษณะนี้เรียกว่า " การใช้เสียงเพื่อก่อเกิดพฤติกรรมต่อเนื่อง " จิตของมนุษย์เมื่อได้รับการกระตุ้นจะเกิดการสั่นสะเทือนของจิตใจ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมการตอบสนอง ซึ่งบางครั้งคุณคงเคยได้รับอิทธิพลจากสื่อนี้ ด้วยการซื้อสินค้าโดยไม่ได้ตั้งใจก็ได้

      2. การพูดเสียง หนัก เบาในการทำการโฆษณา
            เสียงที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดที่มนุษย์พูดสื่อสารกันก็คือ เสียงที่เกิดจากการผสมรวมกันระหว่างการเน้นเสียง + ประโยคการโฆษณา สังเกตุได้ง่ายๆ เลยครับหากโฆษณาชิ้นไหนที่มีการสื่อสารที่เน้นการหนักเบาของเสียง มันจะก่อให้เกิดความสนใจภายในจิตใจของกลุ่มเป้าหมาย นำไปสู่การซื้อสินค้าได้ในที่สุด ดังนั้นนักการตลาด หรือธุรกิจควรใช้กลยุทธ์นี้ไปด้วยในการขณะทำการตลาด

       3. การใช้เสียงดนตรีกระตุ้นอารมณ์ความต้องการในการทำโฆษณา
            ร้านอาหารจะใช้กลยุทธ์นี้บ่อย และเห็นได้ชัดเจนที่สุด ยกต้วอย่างร้านอาหารที่ต้องการรับลูกค้าได้มากโต๊ะขึ้น นั่นจะนำมาสู่ลูกค้าของที่ตนที่มากขึ้น เจ้าของร้านเลยเปิดเพลง ที่มีท่วงทำนอง และจังหวะของเพลงที่เร็ว การเปิดเพลงจังหวะเร็วจะไปกระตุ้นจิตของผู้รับประทานให้ทานเร็วยิ่งขึ้น ให้ทำอะไรเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการขอเช็คบิล ทำให้รับโต๊ะบริการได้มากขึ้น นำมาซึ่งกำไรที่่มากขึ้น เป็นต้น

             การใช้ท่วงทำนองของดนตรีทำการโฆษณานั้น จังหวะความเร็วต้องสอดคล้องกับสินค้า และบริการที่มีอยู่ เช่นสินค้าที่เน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นคนรุ่นใหม่ท่วงทำนองก็อาจจะเร็วหน่อยเพื่อให้ถูกกับภาพพจน์ของสินค้าเป็นต้น

      กลยุทธ์ที่ได้กล่าวมา เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ความมหัสจรรย์ของเสียงมาทำการตลาด ก่อนใช้กลยุทธ์นี้คุณควรคำนึงภาพลักษณ์ของสินค้า โดยควรใช้ทำนอง ความเร็วของดนตรีให้สอดคล้องกับภาพลักษณ์ และค่านิยมของสินค้า

ธวัชชัย สุวรรณสาร
โค้ชด้านการตลาดและการสร้างแบรนด์
081-1689081

ไม่มีความคิดเห็น