Header Ads

เทรนในวงการรีเทล และการตลาดดิจิทัลที่คุณต้องรู้หากต้องการจะอยู่รอด

     การตลาดในยุคนี้ เข้าสู่ยุคของการตลาดดิจิทัลแล้ว ทำให้สื่อทางการตลาด เปลี่ยนแปลงไปมากสื่อสามัญต่างๆ เช่น ทีวี วิทยุ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ที่เรียกว่า " Mass Media ค่อยๆ หมดความสำคัญลงอย่างน่าใจหาย อินเตอร์เน็ต ได้เข้ามามีอิทธิพลกับการตลาด จนก่อเกิดสื่อใหม่ที่มีความเจาะจง มากขึ้นเช่น สื่อสังคมออนไลน์ Facebook   Line  Youtube จึงทำให้นักการตลาด หรือแม้แต่นักธุรกิจเอง หากไม่ปรับตัวให้เข้ากับ ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป คงบอกได้เพียงคำเดียวว่า " รอดยาก "  ครับ


    “เทรนด์” เป็นอีกสิ่งที่นักการตลาดต้องเกาะติด เพราะเป็นเข็มทิศในการออกหมัดให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย โดยปีหมูจะเห็นความโดดเด่นของการใช้ “Influencer” อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ “Micro-influencer” คนธรรมดาที่สร้างชื่อจนดัง ซึ่งแบรนด์จะเลือกใช้คนเหล่านี้ จะต้องศึกษาให้ดี เพราะการทำให่ผู้บริโภคที่ฉลาดขึ้น “เชื่อ” ในสินค้าและบริการได้ จะต้องมีวิธีการพูดที่แตกต่างจากเดิม คำว่า “เนียนขายของ” ใช้ไม่ได้อีกต่อไป “ความจริงใจ” และให้ข้อมูล “ตรงไปตรงมา” ดีที่สุด

“ผู้บริโภคเชื่อตัวเองมากขึ้น เพราะยุคนี้เขาทำอะไรด้วยตัวเองได้ง่าย ฉันทำของฉันเองได้ ทั้งหาข้อมูลต่างๆ จึงไม่สนใจสิ่งรอบข้าง ขณะที่ข้อมูลในโลกดิจิทัลที่มีล้นหลาม(Chioce overload) ไม่มีผลต่อชะลอการตัดสินใจซื้อ แต่จะทำให้ผู้บริโภคเลือกที่จะ “เชื่อ” หรือ “ไม่เชื่อ” มากกว่า ซึ่งนักการตลาดที่มีข้อมูล นำมาวิเคราะห์ แล้วย่อยให้เข้าใจง่าย จะกำชัยในการทำตลาดได้”


     แม้การตลาดจะโหดหินขึ้น แต่แนวโน้มปีนี้ เธอคาดหวังว่าการวางกลยุทธ์ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมายจะง่ายกว่าปีก่อน เพราะมีเรื่องของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์(AI) เข้ามาเอื้อต่อการทำงาน โดยเฉพาะแบรนด์ใหญ่ หลังจากระยะสั้นๆที่ผ่านมาเจอแบรนด์เล็กพริกขี้หนูเข้ามาท้าชนจำนวนมาก

    “ถ้ารายใหญ่ดึง Data base มาใช้ จะทำให้คู่แข่งน้อยลงเรื่อยๆ” เพราะสรรพกำลังด้านเงินทุนในการเก็บเกี่ยวข้อมูลแตกต่างกัน รวมถึงการนำมาวิเคราะห์ ไม่ใช่เรื่องง่าย รายใหญ่ที่มีความพร้อมจึงมีโอกาสที่จะนำข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์ความต้องการผู้โภคเชิงลึก แก้ปัญหา(Pain point)ที่ขวางการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้ ที่สำคัญยังเปิดทางให้แบรนด์สามารถวางกลยุทธ์ เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายเป็นรายบุคคล(Personalize) แทนการเทเงินมหาศาล หว่านทำตลาดกับคนหมู่มาก(Mass)แต่ไม่ตรงเป้า หรือตรงเพียงหยิบมือเดียว

      เพราะการค้าขายปลีก(Retail)และผู้บริโภคเกี่ยวข้องกันด้าน “ซื้อ” และ “ขาย” ก่อนรบจึงจำเป็นรู้ “5 ทิศทางของวงการรีเทลและการตลาด” ปี 2562 เพื่อให้นักการตลาดปรับกลยุทธ์และวิธีการสื่อสารกับผู้บริโภคใหม่ ดังนี้

      1.เทรนด์ Shadow shopping แทนที่ window shopping  พฤติกรรมผู้บริโภคในอดีตอาจเดินเมียงมอง ส่องสินค้าต่างๆ แต่ไม่ซื้อหรือ Window shopping แน่นอนว่านักการตลาดทำอะไรไม่ได้ และเสียโอกาสการขายเรียบร้อยแล้ว หากแบรนด์ทำตัวเป็น “เงา” ตามติดผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย จะเพิ่มการเข้าถึงข้อมูล พฤติกรรมทุกอย่าง เพื่อให้สามารถงัดกลยุทธ์มาใช้ได้ตรงใจ นำไปสู่ปิดการขาย

ตัวอย่างแบรนด์ในโลกที่เป็น “เงา” ผู้ซื้อ คือ อเมซอน บุ๊คส์(Amazon books) ซึ่งพบว่ามีผู้บริโภคบางส่วนดูหนังสือทางออนไลน์ แต่ยังไม่ตัดสินใจซื้อซักที เพราะอาจต้องการจับของจริง เห็นรูปเล่ม เนื้อกระดาษ คำนำฯ จึงหันมาเปิดร้านหนังสือเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้ไม่ต้องลังเลใจอีกต่อไป เพราะสามารถเลือกชมหนังสือได้ที่ร้านและเว็บไซต์ในราคาเดียวกัน ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซ JD.com จากแดนมังกร ประกาศลุยขยายร้านสะดวกซื้อ 1,000 สาขาต่อวัน นอกจากจะลดรอยต่อ(Seamless)การชอปปิงแล้ว จะต้องเป็นเงาตามติดผู้ซื้อไปทุกที่ เพิ่มทางเลือกให้นักช้อปออนไลน์ได้เลือกชมสินค้าแบบไม่ต้องลังเล เป็นต้น

    “จากนี้ไปรีเทลและนักการตลาดจะเน้นกลยุทธ์ที่จะ เปลี่ยน การดู (browse) มาเป็น การซื้อ (Buy)เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสการขายอีกต่อไป ส่งผลให้ผู้บริโภคเลิกพฤติกรรม window shop เพราะตัดสินใจได้ฉับพลัน”

      2.Sellrounding (sell+surrounding) ถูกที่ถูกเวลา ฟากผู้ขายสินค้า อยากตามติดผู้บริโภคไปทุกที่ ไม่เพียงพอ เพราะยุคนี้ขอเนรมิต “พื้นที่รอบตัวผู้บริโภค” ให้เป็น "พื้นที่ขาย" สินค้าได้แบบไร้ขีดจำกัด ไม่มีแค่ร้านค้าออนไลน์ ออฟไลน์ ต้องไปห้างค้าปลีกถึงจะเห็นสินค้าแต่ละรายการ

         ตัวอย่างแบรนด์ดังที่ลุกมาแปลงพื้นที่รอบตัวที่คาดไม่ถึงจะเป็นร้านขายสินค้าได้ เช่น ป้ายรถเมล์ เมื่อ BingoBox ในประเทศจีน อ่านใจผู้บริโภคที่ต้องรอรถเมล์นานๆ อาจหิวกระหายอาหารและเครื่องดื่ม จึงแปลงป้ายรถเมล์ขายสินค้าตอบสนองความต้องการลูกค้า รายการ LoveIsland ทำรายการธรรมดารอเม็ดเงินโฆษณาอย่างเดียวไม่พอ ต้องปฏิวัติวงการและคนดูให้สามารถซื้อสินค้าได้ทันทีที่เห็นนางแบบนายแบบสวมใส่เสื้อผ้าตัวที่ชอบทางทีวี จนส่งผลให้ยอดขายเสื้อผ้าโตกว่า 40% เมื่อผู้หญิงมักแต่งหน้าเสริมสวยในห้องน้ำ Alibaba ไม่ยอมปล่อยโอกาสขายให้หลุดมือ เปลี่ยนห้องน้ำผู้หญิงในห้างให้กลายเป็น Beauty lounge ใช้กระจก อัจริยะ แทนกระจกธรรมดาเปิดทางให้สาวๆลองเครื่องสำอาง หากกระตุ้นให้เกิดความชอบ การชอปปิงก็ตามมาผ่านแอพพลิเคชั่น แม้กระทั่งตู้อัตโนมัติ(vending machine) ที่วางในห้องน้ำเพื่อทำเงิน

    3.Syntail (Synergistic R(E)tail )ผนึกพลังการค้า นักการตลาดย้ำว่าเส้นทางการซื้อสินค้าของผู้บริโภค(Customer journey)เปลี่ยนไปแล้ว ถ้าแบรนด์ต้องการขยายอาณาจักร และตลาดให้กว้าง มัวขับเคี่ยวแข่งกันเอง อาจตามกลุ่มเป้าหมายไม่ทัน แต่ถ้าหันมารวมพลังกันทั้งธุรกิจสายพันธุ์เดียวกัน หรือข้ามสายพันธุ์ก็ดี ย่อมเพิ่มโอกาสเข้าถึงผู้ซื้อทุกๆขั้นตอน(Journey) ครอบคลุมทุกช่องทาง (Touch point)ยิ่งขึ้น

      เวทีโลก ขยับตัวกันเร็ว อย่างอาลีบา ผนึกสตาร์บัคส์(Starbucks) ให้ผู้บริโภคสั่งเครื่องดื่ม Starbucks online รีเทลเฟอร์นิเจอร์ยักษ์ใหญ่อิเกีย(IKEA)จับมือ Task rabbit ขยายการบริการส่งและประกอบเฟอร์นิเจอร์ตามบ้าน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาสำหรับลูกค้าผู้หญิงได้อย่างดีด้วย อาลีบาบา รวมพลังกับ Intersport เพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าสามารถดู ลองสินค้ากีฬาได้ที่ร้านค้าอินเตอร์สปอร์ต และสามารถซื้อผ่านแอพพลิเคชั่นห้างทีมอลล์(TMall) ของอาลีบาบา สินค้าไปส่งได้ที่บ้าน ขจัดอุปสรรคต้องถือของพะรุงพะรัง เป็นต้น

       4.Self control ช่วยเหลือตัวเอง ยุคนี้เวลาคืออัตราแลกเปลี่ยนที่มีค่า(Time is a new currency) อะไรสะดวกสบายผู้บริโภคมักยอมแลก สินค้าที่ต้องเข้าคิวต่อคิวซื้อหรือชำระเงิน อาจไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภคบางกลุ่ม แบรนด์จึงพยายามหาทางปลดปล่อยให้ขาช้อปได้ทำอะไรด้วยตัวเองอย่างมีอิสระ เช่น อเมซอน โก(Amazon Go) เถา คาเฟ่(Tao Café)ไม่มีพนักงานมาคอยบริการ ผู้บริโภคสามารถหยิบสินค้าออกจากร้าน ใส่ถุงเองแล้วตัดเงินอัตโนมัติเดินออกโดยไม่ต้องเข้าคิว วอลล์มาร์(Walmart) เปลี่ยนลานจอดรถเป็นพื้นที่รับสินค้า (Pick up area) เพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าสั่งออนไลน์ และมารับได้ที่ลานจอด ภายใน 5 นาที พร้อมโฆษณาสร้างการรับรู้บริการดังกล่าวแบบอลังการงานสร้างด้วย อาลีบาบาเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้ามาเลือกช้อปสินค้าของสดที่เหอหม่า(Hema supermarket) ลูกค้าเลือกได้จะนำสินค้ากลับบ้านหรือจะใช้บริการจัดส่ง (Delivery)

        5.Sentimental data ผู้บริโภคเชื่อตัวเองมากขึ้นจากข้อมูล ผู้ทรงอิทธิพลต่อการคิดตัดสินใจ(Influencer)จะไม่ใช่คนดัง เซเลบริตี เหมือนเดิมแล้ว เพราะคนเหล่านั้นพูดถึงสินค้าเมื่อไหร่ จะมาพร้อมโลโก้ “ขายสินค้า” แน่นอน

       โลกดิจิทัล ทำให้ผู้บริโภคหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าง่ายด้วยปลายนิ้ว อ่านจากทั้งฝั่งแบรนด์ รีวิวจากบล็อกเกอร์ ตลอดจนผู้ใช้จริง และความคิดเห็นที่ท้วมท้นบนออนไลน์ ทำให้สามารถนำไปวิเคราะห์ ตัดสินใจได้ว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่ออะไรก่อนซื้อสินค้า

        แต่แบรนด์ไม่ลดละความพยายาม เมื่อผู้บริโภคเชื่อตัวเอง นักการตลาดจึงพยายามจับอินไซต์ทาง “อารมณ์” หรือMood ของผู้บริโภคเพื่อวางกลยุทธ์ปิดการขายให้ได้ เช่น วอลล์มาร์ทเริ่มทดลองเทคโนโลยีการจับอารมณ์การช้อปให้รู้ว่าผู้บริโภค ชอบไม่ชอบอะไร แล้วนำเสนอสินค้าได้ตรงความต้องการมากขึ้น ไนกี้(Nike)พัฒนาแอพพลิเคชั่นการวิ่ง เพื่อเก็บข้อมูลการวิ่งของผู้บริโภค สุดท้ายใช้ข้อมูลดังกล่าวมาแนะนำรองเท้าวิ่งที่เหมาะกับผู้บริโภค กำไรของธุรกิจ

          และ นี่คือเทรนการตลาดดิจิทัล ในวงการค้าปลีกทั่วไป ในยุคใหม่ คุณสามารถนำความรู้ ข้อแนะนำ ไปวิเคราะห์ร่วมกับการตลาดในธุรกิจของคุณว่า การตลาด การประกอบธุรกิจของคุณ มี 5 เทรนนี้มีส่วนสำคัญในการทำการตลาดหรือไม่   หากไม่มี หรือมีเพียง 1-2 ข้อ ก็ขอแสดงความยินดีด้วยครับ ธุรกิจของคุณกำลังทำการตลาดในยุคเดิมๆ ซึ่งไม่ได้ผลต่อไปอีกแล้วในยุคดิจิทัลนี้  เติบโตยากครับ   ปรับตัวเสียทีเถิดครับ เพื่อความอยู่รอด และความเจริญก้าวหน้าต่อไป 

         ยุคนี้ ธุรกิจคุณ ต้องทำการตลาดเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรม คนดิจิท้ล อย่ามัวแต่ใช้การตลาดแบบเดิม แล้วหวังว่าจะมีคนมาซื้อ ยากครับยุคนี้ หากคุณอยากอยู่รอด คุณต้องปรับตัวพร้อมเรียนรู้เท่านั้นครับ

ไม่มีความคิดเห็น