Header Ads

หากจะให้การตลาดคุณอยู่รอด ดูถึงการผลิตสินค้า และบริการของคุณก่อนดีไหม

     ในปัจจุบันนี้ คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า การผลิตสินค้า และบริการเพื่อตอบสนองความต้องการที่มากขึ้นของลูกค้านั้น เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  มีลักษณะเป็นการผลิต เพื่อให้เชื่อมโยง หรือสอดคล้องกับการตลาดมากขึ้น  ยิ่งตลาดมีความต้องการในลักษณะใดมาก ก็ยิ่งจะเพิ่มการผลิตเพื่อตอบสนองในส่วนนั้นให้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความแข็งแกร่งในการตลาด


     หนึ่งในกิจการยักษ์ใหญ่ที่ชัดเจนมากที่สุดในการผลิต ซึ่งเป็นระบบการผลิตสมัยใหม่ที่นิยมไปทั่วทั้งโลก นั่นก็คือ " การผลิตแบบโตโยต้า " นั่นเอง

     เหตุที่ต้องยกต้วอย่างการผลิตแบบโตโยต้า ขึ้นมากเป็นกรณีตัวอย่าง เพื่อให้ทุกคนได้ศึกษาเพื่อนำไปปรับใช้กับการผลิตสินค้า และบริการเพื่อให้สอดคล้องกับการตลาด โดยกรณีดังกล่าวมิใช่ว่าจะทำได้เฉพาะกิจการหรือธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น  ธุรกิจขนาดเล็ก และขนาดกลางก็สามารถนำมาปรับใช้ได้ แถมยังง่ายดายต่อการปฏิบัติอีกด้วย

     โตโยต้าก่อนที่จะมาปฏิรูปการผลิต อย่างที่เห็นกันในปัจจุบันนี้นั้น จะเป็นการผลิตที่เน้นการผลิตในปริมาณมากมายเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด เพื่อประหยัดต้นทุนการผลิต ยิ่งผลิตมากก็ยิ่งช่วยลดต้นทุนได้มาก แต่ปัญหาก็ก่อเกิดขึ้นมามากมายมหาศาลเช่นกัน

     ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ การเกิดความสูญเปล่าจากการผลิตอย่างมากมายมหาศาล จนก่อเกิดเป็นต้นทุนสะสมที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ตามมา ดังนั้น โตโยต้าจึงเกิดความคิดที่จะปรับปรุง ปฏิรูปการผลิตใหม่เพื่อช่วยลดต้นทุนที่สูญเปล่าเหล่านั้น และมีความยืนหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดผู้บริโภคอย่างแท้จริง

     โดยระบบของโตโยต้านั้น มุ่งเน้นเพื่อขจัดต้นทุนที่สูญเปล่า 7 ประการด้วยกันก็คือ 1. การผลิตที่มากเกินกว่าความจำเป็น 2. การรอคอยรถ และการประสานงานระหว่างลูกค้า และผู้ผลิต  2. กระบวนการต่างๆที่มากเกินไป 3. การมีสินค้าคงคลังมากจนเกินไป  4. การเคลื่อนไหวต่างๆ ที่ไม่เป็นประโยชน์  5. การผลิตของเสียที่มากจากการผลิตที่เน้นปริมาณ

     โตโยต้ามิได้เน้นในการเปลี่ยนแปลงในเรื่องกระบวนการผลิตเพียงอย่างเดียว ยังได้เน้นการเปลี่ยนแปลงความคิด พัฒนาความคิดของบุคลากรด้วย โดยเฉพาะบุคลากรด้านการบริหาร โดยเฉพาะผู้จัดการโรงงาน และ ผู้จัดการแผนกการผลิต ด้วยการปลูกจิตสำนึกของความ " รับผิดชอบ" และ " บทบาทของผู้รับผิดชอบ " ซึ่งโดยปกติแล้ว ผู้จัดการโรงงานจะสั่งการให้ผู้จัดการแผนก ซึ่งเป็นลูกน้องของตนเพื่อทำงาต่างๆให้ แต่จริงๆแล้วผู้จัดการโรงงานต้องเป็น " ผู้นำ" ในการปรับปรุงหน้าที่ ปรับปรุงขบวนการผลิต เพราะบุคลากรที่มีความสามารถสูงสุดในการผลิตในโรงงานก็คือ ผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการโรงงานต้องมีบทบาท ในการปรับปรุง และการพัฒนาในทุกๆ ขั้นตอนของการผลิต

     จากการปรับปรุงด้านการผลิตดังกล่าว ทำให้โตโยต้า เป็นแม่แบบของระบบการผลิตยุคใหม่ในตลาด และสามารถตอบสนองด้านคุณภาพ เชือมโยงการตลาด ลดการสูญเสียที่ไม่จำเป็น ทำให้ก่อเกิดความจงรักภักดีในแบรนด์ในใจของผู้บริโภค และเป็นจ้าวแห่งตลาดรถยนต์ส่วนบุคคลในปัจจุบััน จนยากที่ใครจะโค่นลงได้

      เป็นอย่างไรบ้างครับ จากตัวอย่างของโตโยต้า คุณสามารถนำแนวคิดและวิธีการดังกล่าวไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้ ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะเล็ก กลาง หรือใหญ่คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้หมด ด้วยการ

      1. วิเคราะห์ดูว่าคุณเน้นในการผลิตด้านปริมาณจนลืมนึกถึงความต้องการของลูกค้าหรือเปล่า ?
   
      2. ดูว่าขั้นตอนงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการบริหาร ขั้นตอนในการอนุมัติสั่งจ่ายต่างๆ มีขั้นตอนที่มากเกิน จนทำให้ล่าช้าในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า หรือกระทบทำให้การผลิตสินค้า และบริการของคุณนั้นล่าช้าหรือไม่   คุณสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการลดขั้นตอนต่างๆ ลงโดยเอาลูกค้า และการประสานงานในธุรกิจในเร็วขึ้นเป็นที่ตั้ง

     3. ผู้บริหาร โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการผลิตมีบทบาทมากน้อยแค่ไหนในการผลิต ควบคุม สินค้าและบริการ ยุคสมัยของการที่มอบหมายให้บุคลากรที่มีตำแหน่งรองลงมาโดยตลอดนั้นหมดลงไปแล้ว ผู้บริหารระดับสูงต้องมีบทบาทต่อการผลิตสินค้า และบริการทุกๆ ขั้นตอน ลุกมาจากเก้าอี้นั่งของคุณได้แล้วครับ


        ทำแค่นี้ คุณก็สามารถทำให้การผลิตของคุณเชื่อมโยง และสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในตลาดสม้ัยใหม่นี้ได้แล้วครับ Confirm!

    

ไม่มีความคิดเห็น